ประเพณีวัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร
นบพระเล่นเพลง
( ประเพณีนบพระเล่นเพลง จังวัดกำเพลงเพชร )
ประเพณีนบพระเล่นเพลงของชาวกำแพงเพชรนั้น
มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานโดย ชาวกำแพงได้นำคำในศิลาจารึกศรีนครชุม หลักที่ ๓
มาเป็นชื่องาน มีความว่า “ ผู้ใดไหว้นบ กระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุ
และพระศรีมหาโพธิไซร้ มีผล อานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบพระผู้เป็นเจ้า ” โดย คำว่า “ นบ ” เป็นคำโบราณ แปลว่า ไหว้ ดังนั้น การนบพระจึง
หมายความว่า “ ไหว้พระ ”
และคำว่าเล่นเพลง หมายถึงความสนุกสนานร่าเริงไปกับเสียงดนตรีของชาวกำแพงเพชร โดยจะมีการร้องเพลงพื้นบ้านมีทั้งชายหญิงช่วยกันร้องร่ายรำกันอย่างสนุกครื้นเครง
( พระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดพระบรมธาตุ )
ปัจจุบันชาวกำแพงเพชรยังคงยึดถือปฏิบัติประเพณีนบพระเล่นเพลงเช่นเดียวกันกับสมัยก่อน
โดยจะมีการจัดงานประเพณีในวันมาฆบูชาของทุกปีหรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
ตามปฏิทินไทย โดยในช่วงเช้าจะมีการจัดการเดินขบวนแห่อย่างงดงาม
ขบวนที่แห่ก็จะแต่งกายโดยสวมใส่ในชุดโบราณที่หาชมได้ยากในสมัยนี้
และในช่วงเวลาค่ำคืนบริเวณวัดพระแก้วจะมีการจัดงานการขับร้องเพลงพื้นบ้าน ภายในงานจะมีการจัดการแสดงร้องรำทำเพลง
ร้องเพลงพื้นบ้านร่ายรำประกวดกันต่างๆนาๆ ผู้ที่เข้าชมจะได้ยินเสียงบทเพลงในสมัยรุ่นปู่รุ่นย่าที่ร้องรำกันอย่างสนุกสนานและเต็มไปด้วยแสงไฟแห่งความสนุกครื้นเครง
ทุกคนที่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงในงานประกวดขับร้องเพลงพื้นบ้านประจำจังหวัด
ต่างก็ปลาบปลื้มใจที่ได้สืบสานประเพณีอันเก่าแก่ของจังหวัดกำแพงเพชรมิให้เลือนหายไปตามกาลเวลา
( การแสดงและการประกวดการขับร้องเพลงพื้นบ้าน )
ตอนค่ำจะมีมหรสพแสดงให้ชมหลายอย่างด้วยกัน
และที่สำคัญคือ การเล่นเพลง ที่แสดงโดย นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ที่เล่นได้ดีเป็นที่สนใจและติดใจแก่ผู้ที่มาเข้าชม
โดยภายในงานนนั้นจะมีการจัดนิทรรศการต่างๆเช่น “ การแสดง นิทรรศการ เรื่อง "
เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพียง ” การจำลองวิถีชีวิตและการแสดงของพี่น้องชาวไทยภูเขา
, กิจกรรมและการแสดง , การประดับตกแต่งไฟแสง สี เสียง , การแสดง แสงสี เสียง ” การจัดแสดงนิทรรศการนี้ ต่างก็เป็นที่ชื่นชมและชื่นชอบแก่ผู้เข้ามาสัมผัสประเพณีของชาวกำแพงเพชร
✮ บรรยายโวหาร
✮ พรรณนาโวหาร
✮ สาธกโวหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น